“พลัส์วิดท์มอดูเลเตอร์” (Pluse Width Modulator)
เป็นวงจรสำคัญอีกตัวหนึ่งที่ใช้ในการออกแบบและทดสอบคอนเวอร์เตอร์ที่ใช้ในสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย
เพราะหัวใจสำคัญในการควบคุมค่าแรงดันขาออกของคอนเวอร์เตอร์ ก็คือการควบคุม “ช่วงเวลานำกระแส”
ของเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ในวงจรครับ
โดยทั่วเมื่อโหลดดึงกระแสมากขึ้นแรงดันขาออกของคอนเวอร์เตอร์ก็จะลดลง
ดังนั้นวงจรควบคุมจึงต้องเพิ่มช่วงเวลานำกระแสให้กับเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์เป็นการชดเชย เพื่อคงค่าแรงดันเอาไว้
ซึ่งในทางกลับกันเมื่อโหลดดึงกระแสน้อยลงช่วงเวลานำกระแสของเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ก็ต้องน้อยลงตามไปด้วยเช่นกัน
วงจรควบคุมที่ใช้กับคอนเวอร์เตอร์ส่วนใหญ่จึงเป็นวงจรในลักษณะ “พลัส์วิดท์มอดูเลต”
คือ เมื่อแรงดันป้อนกลับมีค่าน้อยลงความกว้างของเอาท์พุตพลัส์
(ซึ่งนำไปใช้ขับให้เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์นำกระแส) ก็จะมากขึ้น และเมื่อแรงดันป้อนกลับมีค่ามากขึ้นความกว้างของเอาท์พุตพลัส์ก็จะน้อยลงกลับทางกัน
การทดลองเกี่ยวกับคอนเวอร์เตอร์หรือสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายวงจร
“พลัส์วิดท์มอดูเลเตอร์” หรือ PWM จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ครับ
มีวงจรพลัส์วิดท์มอดูเลตที่นำมาใช้ได้ดีอยู่หลายแบบ
แต่ที่ราคาถูกและสร้างง่ายที่สุดน่าจะเป็นวงจรที่ใช้ IC ยอดนิยมสำหรับสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายเบอร์
TL494 ครับ เบอร์นี้เป็นคอนโทลเลอร์สำหรับสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายที่เก่ามากแล้ว (วงจรรุ่นเก่าๆ จะใช้กันมาก) แต่ยังใช้เป็นวงจรพลัส์วิดท์มอดูเลเตอร์สำหรับการทดสอบคอนเวอร์เตอร์ได้ดีทีเดียว
ที่สำคัญก็คือ เบอร์นี้หาง่ายและมีราคาถูกครับ ตัวละไม่เกิน 10 บาท
หน้าตาของวงจรจะเป็นตามนึ้ครับ
วงจรนี้สามารถใช้ทดสอบคอนเวอร์เตอร์ได้ครบทุกแบบ ตัววงจรผมดัดแปลงมาจากวงจรทดสอบใน datasheet
ของ IC เอง หลักการทำงานของตัวไอซีผมจะขอข้ามไปเพราะมีกล่าวโดยละเอียดใน datasheet
และในอินเตอร์เน็ตแล้ว
ความถี่ของวงจร f(osc) ที่ต้องการใช้เป็นความถี่การทำงานของคอนเวอร์เตอร์ จะขึ้นอยู่กับค่า RT
กับ CT ซึ่งจะแตกต่างไปตามโหมดการทำงาน สำหรับโหมด Single-ended (Output1 และ Output2
ทำงานพร้อมกัน) สำหรับวงจรที่ใช้เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ตัวเดียวอย่าง ฟลายแบคหรือฟอร์เวิร์ดคอนเวอร์เตอร์
จะใช้สูตรนี้
สำหรับโหมด Push-pull ( Output1 และ Output2 สลับกันทำงาน) สำหรับวงจรที่ใช้เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ 2 ตัวสลับกันนำกระแส เช่น พุชพูล ฮาล์ฟบริดจ์ และฟูลบริดจ์คอนเวอร์เตอร์
จะใช้สูตรนี้ครับ
หมายความว่าในโหมด Push-pull ถ้าใช้ RT กับ CT ค่าเดียวกันกับโหมด
Single-ended ความถี่จะหายไปครึ่งหนึ่ง ซึ่งการจะใช้โหมด Push-pull นั้น ให้จ่ายไฟบวกเข้าที่ขา
13 ที่ใช้เป็นตัวเลือกโหมด และแรงดันไฟบวกที่ใช้ก็สามารถใช้แรงดันจากขา 14 ซึ่งมีค่าคงที่
5V เป็นแรงดันอ้างอิงที่ให้มากับ TL494 อยู่แล้วได้เลย
แต่ถ้าจะใช้โหมด Single-ended ก็ปล่อยขา 13 ให้ลอยเอาไว้ครับ
สำหรับค่า RT และ CT ของวงจร ผมเลือกให้ CT เป็นค่าคงที่เท่ากับ
0.01uF ดังนั้นตั้งค่าความถี่จะได้จากการเปลี่ยนค่า RT เอาครับ ส่วนค่า RT
ที่แสดงไว้ในวงจรนี้จะปรับความถี่ได้ตั้งแต่ 20kHz ไปจนถึง 100 kHz ซึ่งน่าจะเพียงพอสำหรับการทดลองเกี่ยวกับคอนเวอร์เตอร์ขั้นพื้นฐานแล้ว
จากวงจรจะเห็นว่าที่ขา 4 นั้นต่อลงกราวด์เอาไว้ ดังนั้นค่าเวลาเผื่อ (dead-time)
ของวงจรจะอยู่ที่ประมาณ 3% คือ ความกว้างสูงสุดของพลัส์หรือค่า duty cycle
จะอยู่ที่ 97% ส่วนการตั้งค่าเวลาเผื่อให้ได้มากกว่า
3% (ซึ่งอาจจำเป็นสำหรับโหมด Push-pull เพื่อไม่ให้เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ 2
ตัวนำกระแสพร้อมกัน) ตามคู่มือบอกว่าให้จ่ายแรงดันให้ที่ขา 4 ตั้งแต่ 0V ถึง 3.3V แทนการต่อลงกราวด์
ซึ่งจะปรับค่าเวลาเผื่อได้จาก 3% ไปจนถึง 100% ครับ
การปรับค่าความกว้างพัลส์ (ค่า Duty cycle) ใช้วิธีปรับค่าแรงดันที่ป้อนให้ขา 3 ในวงจรนี้ใช้ค่าแรงดันอ้างอิง 5V ของไอซีที่ขา 4 ได้เลยเพราะแรงดันที่ขา 3 หรือ Feedback เริ่มจาก 0.7V (Duty cycle สูงสุด) ไปจนถึง 4.5V (Duty cycle ต่ำสุด) R ปรับค่าได้ใช้ค่าเท่าไหร่ก็ได้ครับ ที่ไม่ต่ำเกินไป ผมใช้ค่า 1K แบบ 10รอบ แต่ใช้แบบธรรมดาก็ได้ครับ ที่ใช้แบบ 10 รอบ เพราะจะได้ปรับค่า Duty cycle ที่ต้องการได้ง่ายหน่อยเท่านั้นเองครับ
ตัวต้านทานที่ต่อลงกราวด์ที่ Output1 กับ Output2 นั้น วงจรนี้ต่อสลับกับวงจรใน
data sheet เพื่อให้มีแรงดันมากพอที่จะขับเพาเวอร์มอสเฟตได้เลย หรือจะเพิ่ม totem
pole เข้าไปอีกตามรูปก็ได้ครับ
ตอนนี้เราก็มีครบแล้วทั้งโหลดและพัลส์วิดท์มอดูเลเตอร์ ดังนั้นตอนต่อๆไป
ก็จะสามารถทดสอบคอนเวอร์เตอร์แบบต่างๆ ที่ออกแบบเอาไว้ได้แล้วครับ
ทดสอบวงจร PWM ที่สร้างขึ้น ใช้แรงดันไฟเลี้ยงวงจรที่ 12V วงจรทำงานในโหมด Single-ended จะเห็นว่า Output1 และ Output2 นั้นทำงานพร้อมกัน |
กลุ่มทรานซิสเตอร์ที่เห็นเป็น totem pole ที่เพิ่มเข้ามา ตัว R ปรับค่าได้สีฟ้า 10 รอบ สำหรับปรับค่า duty cycle ส่วนตัวสีดำนั้นปรับค่าความถี่ของวงจรครับ |
รูปคลื่นจาก Output1 และ Output2 ในโหมด Single-ended ปรับค่าเอาไว้ที่ความถี่ 50kHz และ 20% Duty Cycle |
รูปคลื่นจาก Output1 และ Output2 ในโหมด Single-ended ปรับค่าเอาไว้ที่ความถี่ 50kHz และ 90% Duty Cycle |
ตั้งค่า RT และ CT ไว้เท่าเดิม แต่เปลี่ยนเป็นโหมด Push-pull แทน โดยจ่ายไฟ 5V เข้าที่ขา 13 จะเห็นว่าความถี่ของแต่ละเอาท์พุตลดลงเหลือ 25kHz รูปนี้ปรับค่า Duty cycle เอาไว้ที่ 10% ครับ |
ที่ค่า RT และ CT เท่าเดิมในโหมด Push-pull แต่ค่า Duty Cycle อยู่ที่ 45% |