วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วิเคราะห์การออกแบบสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายด้วยโปรแกรม LTSPICE IV ตอนที่ 3

วิเคราะห์วงจรฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์


เนื่องจากฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์มีตัวอุปกรณ์สำคัญในวงจรเพียงแค่ 4 ตัวคือ เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ หม้อแปลง ไดโอด และตัวคาปาซิเตอร์กรองแรงดันขาออก จึงจัดเป็นคอนเวอร์เตอร์ยอดนิยมสำหรับเครื่องใช้และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการกำลังงานไม่สูงมากนัก เพราะสร้างง่ายและมีราคาถูก

และเนื่องจากมีตัวอุปกรณ์น้อยชิ้น ดังนั้นเราจะทดลองวิเคราะห์การออกแบบสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายด้วยโปรแกรม LTSPICE IV โดยเริ่มจากวงจรฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์เป็นอันดับแรก

เริ่มด้วยการนำ component มากวางในแผ่นวงจรให้ได้วงจรฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์ตามนี้ครับ



อย่าลืมว่าหม้อแปลงฟลายแบคนั้นขดลวดไพรมารี่กับเซคั่นดารี่นั้นต้องวางกลับเฟสกัน ส่วนวงจรกำเนิด PWM_A ได้อธิบายไปในตอนก่อนหน้านี้แล้ว จึงเหลือแต่สวิตช์ S1 หรือ Voltage Control Switch ที่จะนำมาใช้แทนเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ เนื่องจากต้องการเริ่มด้วยวงจรแบบอุดมคติเสียก่อน

การนำ Voltage Controlled Switch มาใช้ให้เลือก คำว่า sw จากรายการอุปกรณ์ โดยให้กด F2 แล้วพิมพ์คำว่า sw ในช่อง search จากนั้นก็กดเลือกออกมาวางในแผ่นวงจร  การใช้ Voltage Controlled Switch เราต้องกำหนดค่าต่างๆ ที่จำเป็นให้มันด้วย โดยใช้คำสั่ง .model ตัวอย่างตามนี้

.model SW SW(Ron=0.01 Roff = 10Meg Vt=0.5 Vh=-0.04)

SW ตัวแรกหลังคำสั่ง .model คือชื่อตัวแปรที่เราจะกำหนดค่า (คือ SW ที่เห็นคู่กับคำว่า S1 ในวงจร)  ส่วน SW ตัวถัดมาเป็นตัวย่อบอกว่า SW นี้เป็น Voltage Controlled Switch (ถ้าเป็นสวิตช์แบบอื่นก็ใช้ตัวย่ออื่นเช่น CSW ก็หมายถึงเป็น Current Controlled Switch เป็นต้น) ค่า Ron และ Roff คือ ค่าความต้านทานขณะนำกระแสและหยุดนำกระแสตามลำดับ Vt ก็คือค่าแรงดันที่จะเริ่มและหยุดทำงานของสวิตช์ ส่วน Vh คือ ค่าความล้าของการตอบสนองของแรงดันควบคุมของสวิตช์ (Hysteresis) ดังนั้นสวิตช์จะเริ่มและหยุดทำงานที่ (Vt − Vh) และ (Vt + Vh) ตามลำดับครับ

ต่อไปเราจะเริ่มกำหนดค่า่ต่างๆ ให้ตัวอุปกรณ์ในวงจร ซึ่งจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์ที่เราต้องการ ซึ่งจะขอกำหนดค่าในตัวอย่างนี้ดังนี้


แรงดันขาเข้า    : 7-12 V
แรงดันขาออก   : 5 V
กระแสขาออก   : 0.3 A
ความถี่ทำงาน   : 25 KHz

วิธีการคำนวณหาค่าต่างๆ นั้นผมจะใช้วิธีตามที่ได้อธิบายไว้แล้วในหนังสือ เทคนิคและการออกแบบสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย” ดังนั้นจึงจะข้ามรายละเอียดไปก่อน จะยกมาแค่สูตรเท่านั้นครับ

1. เริ่มด้วยหาค่าคาบเวลาการทำงานของเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์เสียก่อน จะได้ว่า

2. ต่อไปจะกำหนดค่าอัตราส่วนจำนวนรอบของหม้อแปลง Np:Ns จากอัตราทนแรงดันสูงสุดที่เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์จะทนได้ เพราะในฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์ขณะที่เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์หยุดนำกระแสนั้น จะมีแรงดันตีกลับจากขดเซคั่นดาร๋ผ่านมายังขดไพรมารี่ซึ่งขนาดของแรงดันจะขึ้นอยู่กับอัตราส่วนจำนวนรอบ และเมื่อรวมกับค่าแรงดันขาเข้าดังนั้นในขณะที่เพ่าเวอร์ทรานซิสเตอร์หยุดแรงดันตกคร่อมที่ตัวเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์จะมีค่าสูงมาก 

การกำหนดค่าอัตราส่วนจำนวนรอบ Np:Ns จึงควรทำเป็นอันดับแรกจากเพื่อหาเงื่อนไขและตัวอุปกรณที่เหมาะสมให้แก่คอนเวอร์เตอร์

ซึ่งจะหาได้จากสมการนี้ครับ

ในที่นี้จะกำหนดให้ Vce(max) เท่ากับ 50V ดังนั้นที่แรงดันขาออก Vin = 5V แรงดันตกคร่อมไดโอดขณะนำกระแส Vd = 0.6V และค่าแรงดันขาเข้าสูงสุด Vin(max)=12V จะได้



เครื่องหมายน้อยกว่าเท่ากับ คือ เลือกค่าอัตราส่วนเป็นเท่าไหร่ก็ได้ตั้งแต่ 6.14 ลงมา ในที่นี้จะเลือก Np:Ns = 6:1 ครับ

3. ในที่นี้จะพิจารณาจากโหมดกระแสไม่ต่อเนื่อง (discontinuous current mode) ก่อน จึงกำหนดค่าคาบเวลาให้ลดลงเหลือ 0.8T และคำนวณหาช่วงเวลานำกระแสสูงสุด ton(max) ที่จะทำให้กระแสที่ขดลวดเซคั่นดารี่ลดลงจนมีค่าเป็น 0 ได้ที่เวลา 0.8T จากสมการ



4. จากนั้นเอาค่า ton(max) ที่ได้ไปหาค่าอินดัคแตนซ์ Lp ของขดลวดไพรมารี่อีกทีตามสมการ



(ให้ค่าประสิทธิภาพของคอนเวอร์เตอร์เป็น 0.8 และค่าแรงดันตกคร่อมเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ขณะทำงานเท่ากับ 1.3V)

5. คำนวณค่า Ls จากสมการ



มาถึงขั้นตอนนี้เราก็ได้ค่าต่างๆ ที่จำเป็นมาครบแล้ว ก็นำไปกำหนดค่าในวงจรเพื่อให้ LTspice IV จำลองการทำงานวงจรที่เราออกแบบได้เลยครับ และเนื่องจากวงจรแรกนี้ผมใช้สวิตช์เป็นมาแทนเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ ค่าแรงดันตกคร่อมที่ใช้คำนวณจากสูตรข้างบนมันจะหายไป เลยจะชดเชยด้วยการลดค่าแรงดันขาเข้าลงไป 1V ดังนั้นหากเริ่มต้นทดสอบด้วยค่าแรงดันขาเข้าต่ำที่สุด ก็จะเริ่มที่ 6V แทน 7V ครับ

ค่าทั้งหมดในวงจรก็จะเป็นดังนี้





เมื่อทดลองสั่ง run เป็นเวลา 50ms โดยกำหนดให้ช่วงเวลา  ton=27E-6s จะให้ค่าแรงดันเสถียรที่ประมาณ 5.4V จากโหลดประมาณ 300mA



ค่าแรงดันขาออกที่ได้เมื่อสั่ง run วงจรในช่วงเวลา 0-50ms โหลด 300mA


รูปบนเป็นค่าแรงดันตกคร่อมเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ (S1) ขณะทำงาน รูปล่างเป็นค่ากระแสที่ฝั่งไพรมารี่ (สีเหลือง) และฝั่งเซคั่นดารี่ (สีขาว) จะเห็นว่ากระแสสูงสุดที่ฝั่งเซคั่นดารี่จะมีค่ามากกว่าฝังไพรมารี่หลายเท่า ในขณะที่แรงดันตกคร่อมเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ขณะที่ขดลวดเซคั่นดารี่ยังนำกระแสอยู่จะมีค่ามากกว่าแรงดันขาเข้าหลายเท่าด้วยเช่นกัน (ประมาณ 48V ในวงจรนี้) 


จะเห็นว่าที่ค่าแรงดันขาเข้าที่ 6V ค่ากระแสฝั่งเซคั่นดารี่สามารถลดลงเป็นศูนย์ได้ก่อนหมดคาบเวลา และยังเหลือช่วงเวลาอีกค่อนข้างกว้าง หมายความว่าค่า Lp กับ ค่าอัตราส่วนจำนวนรอบ Np:Ns ที่กำหนดให้แก่วงจร อาจใช้งานได้กว้างขึ้นไปอีกคือ หากแรงดันขาเข้ามีค่าต่ำกว่า 6V ลงไป หรือโหลดดึงกระแสมากกว่า 300mA วงจรก็ยังสามารถทำงานและคงค่าแรงดันขาออกเอาไว้ได้

ค่าแรงดันตกคร่อมเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์สูงสุดขณะหยุดนำกระแสที่ได้นั้นมีค่าประมาณ 50V ซึ่งไม่เกิน 60V ตามต้องการ ส่วนลักษณะของแรงดันตกคร่อมเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์กับลักษณะของกระแสทั้ง 2 ฝั่งก็เป็นไปตามที่ได้อธิบายไว้ในหน้งสือแล้ว จึงจะไม่ขอกล่าวในรายละเอียดอีกครับ

เมื่อปรับค่าแรงดันขาเข้าเป็น 12V และปรับช่วงเวลา ton จนให้ค่าแรงดันเสถียรที่ประมาณ 5V และโหลดประมาณ 300mA ได้ค่าช่วงเวลา ton ที่ประมาณ 12.8E-6s
สรุปเบื้องต้นได้ว่าค่าต่างๆ ที่กำหนดให้แก่วงจรน่าจะทำฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์ทำงานได้ตามข้อกำหนดที่ต้องการ ไม่น่ามีปัญหาอะไร

เมื่อซูมภาพเข้าไปดูค่า ripple ของแรงดันขาออกที่เกิดขึ้น วัดได้ประมาณ 16mV เมื่อทดลองลดค่าตัวคาปาซิเตอร์ลงมาจาก 680uF เป็น 220uF ค่า ripple เพิ่มขึ้นเป็น 48mV เมื่อทดลองเพิ่มค่า ESR 0.01Ohmให้ตัวคาปาซิเตอร์ขาออก ripple ยิ่งเพิ่มมากขึ้นจาก 48mV เพิ่มเป็น 63mV




Ripple หรือค่าแรงดันกระเพื่อมที่ขาออกของวงจรวัดได้ประมาณ 16mV


เมื่อลดค่าตัวคาปาซิเตอร์ลงมาจาก 680uF เป็น 220uF ค่า ripple เพิ่มขึ้นเป็น 48mV 


ที่ค่าคาปาซิเตอร์ 220uF แต่เพิ่มค่า ESR ให้เป็น 0.01 โอมห์ม  ripple ยิ่งเพิ่มมากขึ้นจาก 48mV เป็น  63mV  ESR ที่เพิ่มเข้าส่งผลต่อลักษณะรูปคลื่นของ ripple ที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ต่อไปเราจะเริ่มทดลองเปลี่ยนตัวอุปกรณ์จากอุดมคติมาใช้ค่าที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น ผมจะทดลองเปลี่ยนไดโอดก่อนเป็นอันดับแรก โดยเลือกเปลี่ยนเป็น shottkey diode เบอร์ 1N5819 จาก component ที่ LTspice IV มีให้มา

ผลที่ได้จากการเปลี่ยนไม่กระทบค่ากระแสและแรงดันขาออกของวงจรแต่อย่างใด แต่มีผลต่อรูปคลื่นของแรงดันตกคร่อมเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ในช่วงหยุดนำกระแส โดยจะเกิดเรโซแนนซ์ในช่วงที่กระแสที่ฝั่งเซคั่นดารี่ลดลงเป็น 0 ไปแล้ว ดังรูป


รูปนี้แสดงให้เห็นเรโซแนนซ์ที่เกิดขึ้นที่แรงดันตกคร่อมเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์เมื่อกระแสที่ฝั่งเซคั่นดารี่ลดลงจนเป็นมีค่า 0 ที่เป็นผลมาจากค่าคาปาซิแตนซ์ที่รอยต่อของตัวไดโอด 1N5819 ที่เปลี่ยนให้วงจร

ต่อไปจะทดลองเปลี่ยนสวิตช์เป็นเพาเวอร์มอสเฟตดูบ้าง แต่เปลี่ยนไดโอดกลับมาเป็นอุดมคติเสียก่อน เพาเวอร์มอสเฟตเลือกเปลี่ยนเป็นเบอร์ IRFH5053 จาก component ที่ LTspice IV มีให้มา

ผลที่ได้จากการเปลี่ยนไม่กระทบค่ากระแสและแรงดันขาออกของวงจรแต่มีผลต่อรูปคลื่นของแรงดันตกคร่อมเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ในช่วงหยุดนำกระแส เช่นเดียวกับไดโอด โดยจะเกิดเรโซแนนซ์ในช่วงที่กระแสที่ฝั่งเซคั่นดารี่ลดลงเป็น 0 ไปแล้ว
ต่างกันตรงที่ความถี่เรโซแนนซ์ที่เกิดจากเพาเวอร์มอสเฟตจะต่ำกว่าไดโอด



รูปนี้แสดงให้เห็นเรโซแนนซ์ที่เกิดขึ้นที่แรงดันตกคร่อมเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์เมื่อกระแสที่ฝั่งเซคั่นดารี่ลดลงจนเป็นมีค่า 0 ที่เป็นผลมาจากค่าเอาพุดท์คาปาซิแตนซ์ของเพาเวอร์มอสเฟตที่เปลี่ยนให้วงจร จะเห็นว่าความถี่เรโซแนนซ์ที่เกิดจากเพาเวอร์มอสเฟตจะต่ำกว่าไดโอด


เรโซแนนซ์ที่เกิดขึ้นนั้นมาจากผลของค่าคาปาซิแตนซ์รอยต่อ (Cj) ของไดโอด และค่าเอาท์พุตคาปาซิแตนซ์ (Coss) ของมอสเฟตซึ่งจะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ครับ

ต่อไปเราจะเพิ่มค่าความเหนี่ยวนำรั่วให้หม้อแปลง โดยกำหนดค่าเป็น K1 L1 L2 0.99 เพื่อดูผลกระทบกันบ้างครับ

เมื่อเปลี่ยนหม้อแปลง เพาเวอร์มอสเฟต และไดโอด ให้เป็นตัวอุปกรณ์ที่ไม่เป็นอุดมคติพบว่า จะทำให้ค่าแรงดันขาออกที่ได้ลดลงเล็กน้อย ซึ่งถือว่าไม่เป็นปัญหา แต่ค่าความเหนี่ยวนำรั่วจะมีผลกระทบต่อแรงดันตกคร่อมเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ในช่วงหยุดนำกระแสมากเลยทีเดียว เนื่องจากขณะหยุดนำกระแสจะเกิดเรโซแนนซ์ขึ้นระหว่างค่าความเหนี่ยวรั่วของหม้อแปลงกับค่าเอาพุตท์คาปาซิแตนซ์ของเพาเวอร์มอสเฟต และในขณะที่เริ่มหยุดนำกระแสค่าแรงดันสูงสุดของเรโซแนนซ์ที่เกิดขึ้นจะสูงมากในช่วงสั้นที่เรียกว่า สไปค์ (spike) ก่อนที่จะถูกลดทอนลงมาตามเวลา แต่ก็สามารถทำอันตรายให้ตัวเพาเวอร์มอสเฟตได้กรณีมีค่าสูงมากเกินค่าแรงดันสูงสุดที่เพาเวอร์มอสเฟตจะทนได้

ตัวอย่างในกรณีนี้จะเห็นว่าสไปค์ที่เกิดขึ้นมีค่าสูงมากกว่า 90V เลยทีเดียว



แสดงผลของสไปค์ที่เกิดขณะเพาเวอร์มอสเฟตหยุดนำกระแสซึ่งเป็นผลจากค่าความเหนี่ยวนำรั่วในขดลวดไพรมารี่ของหม้อแปลง เมื่อหม้อแปลงไม่เป็นอุดมคติ (K1 L1 L2 0.99) 


ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วฟลายแบคคอนเวอร์จึงจำเป็นต้องมีวงจรสนับเบอร์ (snubber) เพื่อกดค่าแรงดันสไปค์ในช่วงสั้นๆ นี้ให้มีค่าไม่เกินที่จะเป็นอันตรายต่อเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์เอาไว้ด้วยเสมอครับ

ในที่นี้ผมจะทดลองเพิ่มสนับเบอร์เข้ามาในวงจรตามในรูปนี้ เพื่อดูผลคร่าวๆ ส่วนการคำนวณค่าของสนับเบอร์จะขอข้ามไปก่อนครับ


แสดงวงจรสนับเบอร์ที่เพิ่มเข้ามาเพื่อกดแรงดันสไปค์ช่วงขณะเริ่มหยุดนำกระแสให้มีค่าไม่สูงเกินกว่าเพาเวอร์มอสเฟตจะทนได้


รูปนี้เป็นผลที่ได้หลังใส่สนับเบอร์เข้าไปครับ



ผลของวงจรสนับเบอร์ที่เพิ่มเข้ามาในวงจร ซึ่งสามารถลดแรวดันสไปค์ลงมาให้เหลืออยู่ประมาณ 50V ซึ่งไม่เกินค่าแรงดันสูงสุดที่เพาเวอร์มอสเฟตทนได้ตามที่กำหนดไว้ตอนออกแบบวงจร

จะเห็นว่าสนับเบอร์ช่วยกดแรงดันไว้ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ แต่มันก็มีผลต่อค่าแรงดันขาออกพอสมควรเลยทีเดียว รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงความร้อนและกำลังงานสูญเสียจะเกิดในวงจรสนับเบอร์อีกด้วย แต่ผลดีของการใส่สนับเบอร์เอาไว้ก็ถือว่ามันจำเป็นต้องใส่ไว้ในวงจรด้วยเสมอ

สำหรับโหมดกระแสต่อเนื่องจะขอข้ามไป เพราะคิดว่าสามารถใช้แนวทางการคำนวณแบบเดียวกันนี้ได้ โดยเปลี่ยนจากค่า ton(max) เป็น ton(min) และเปลี่ยนค่าคาบจากที่จำกัดไว้ 0.8T เป็น T ในข้อ 3 แล้วนำไปคำนวณหาค่า Lp ต่อในข้อ 4 คิดว่าคงไม่ยากเกินไป

ส่วนผลจากการสร้างวงจรจริงที่สร้างขึ้นเปรียบเทียบกับผลวิเคราะห์ที่ทำมาข้างบนเข้าไปดูได้ตาม link ที่ปรากฏอยู่ข้างล้างนี้ครับ

วงจรทดลองเพื่อศึกษาการทำงานของฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์

35 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณมากครับความรู้ดีๆ เเต่เข้าไปดูง
    จรทดลองไม่ได้ครับ

    ตอบลบ
  3. ขอบพระคุณมากๆครับ สำหรับความรู้ดีๆขอบคุณๆๆ จริงๆครับผมพยายามหาวิธีทำมานานเเล้ว!ประมาณเกือบปี หาๆดูก็มีเเต่วงจรเฉยกับวิธีสร้างเเต่ ไม่เข้าใจเลยว่าเเต่ละวงจรข้างในมีการทำงานอย่างไร วันนี้ผมเสียสละเวลา 1 วันตั้งเเต่ 9 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น!! ทำความเข้าใจโดยทดลองทำตามทุกขั้นตอนเลยครับ จึงเข้าใจเเล้วว่าสัญญาณจากจุดไหนเป็นอย่างไรและมีวิธีเช็คโดยใช้ ออสซิโลสโคปวัดตรงไหนบ้าง ผมตามมาจากชีสถ่ายเอกสารเเต่อ่านเเล้วภาพไม่ค่อยชัดเลยเอาชื่อหนังสือมา หาในอินเตอร์เน็ตดูปรากฎว่าเจอบล๊อคนี้เข้าให้ ผมดีใจมากครับ!! ผมจะติดตามเรื่อยๆเลยครับ มีประโยชน์มากครับๆๆ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. แก้ link เข้าวงจรทดลองให้แล้วครับ
      ยินดีมากครับที่บทความเป็นประโยชน์ จะทยอยเขียนให้ครบทุกคอนเวอร์เตอร์ที่มี
      ถ้ามีเวลาครับ

      ลบ
    2. ผมสามารถสั่งซื้อ "หนังสือเทคนิคและการออกแบบสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย" ได้จากที่ไหนบ้างหรอครับ อยากได้มากเลยครับ

      ลบ
    3. หนังสือกำลังอยู่ระหว่างพิมพ์ใหม่ คงประมาณอีก 2-3 เดือนน่าจะวางขายที่ร้านหนังสือได้ แล้วจะแจ้งให้ทราบผ่านบล็อคนะครับ

      ลบ
    4. หนังสือวางจำหน่ายแล้วนะครับ ลองติดต่อที่ร้านหนังสือดูครับ เลข ISBN 9786169122821

      ลบ
  4. มีแก้ไขตัวเลขหน่อยนะครับ จาก VCE max ที่ใช้คำนวณ np/ns จาก 60V เป็น 50V ขอบคุณ คุณ Nampetch Buaklei ที่ช่วยแจ้งมาครับ

    ตอบลบ
  5. ถ้าผมต้องการทำinverter 12 to 220 ผมใช้สูตรคำนวณหาจำนวนรอบของหม้อแปลงตามนี้ได้เลยใช่ใหมครับ

    ตอบลบ
  6. ถ้าเป็น DC-DC inverter (converter) แบบฟลายแบคสูตรนี้ใช้ได้ครับ นิยมใช้ออกแบบกัน แต่ถ้าเป็น DC-AC inverter ก็ต้องพิจารณาปัจจัยเพิ่มอีกหลายอย่าง หรืออาจต้องใช้คอนเวอร์เตอร์แบบอื่นครับ

    ตอบลบ
  7. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  8. ถ้าต้องการคำนวณหา NP/NS โดยที่ แรงดันขาเข้า =12 แรงดันขาออก=200 ใส่ค่าตามนี้เลยหรือไม่ครับ 50=12+(NP/NS)×(200.6)+(0.3×12) ค่าที่ได้คือ 0.171 ผมคำนวณผิดหรือไม่ครับ

    ตอบลบ
  9. ได้ตามนั้นครับ จากนั้นเอาค่านี้ไปหาจำนวนรอบ np ที่ต้องการ ก่อน แล้วค่อยหา ns ทำตามลำดับในตัวอย่างได้เลยครับ np/ns น้อยกว่า 1 หมายความว่า ขด ns มีจำนวนรอบมากกว่าครับ (เพราะเราจะทำแรงดันขาออกมากกว่าแรงดันขาเข้า)

    ตอบลบ
  10. แล้วขนาดลวดนี่ผมจะทราบได้อย่างไรว่าจะใช้ขนาดใหนดีในกรณีที่ผมใช้ferrite core EE25 ที่ถอดมาจากpower supply.
    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ต้องคำนวณเอาครับไล่จากสูตร 10.15 ทำตามตัวอย่างในหน้า 112 ก็ได้
      ถ้าต้องการแค่ทดลองไม่สนใจเรื่องความร้อนหรือประสิทธิภาพก็
      ให้ใช้ค่า bw หรือ Bcf ของ EE25 ที่ต้องการ ถ้าไม่มีดาต้าชีตให้วัดเอาเลยก็ได้ แล้วคำนวณค่าขนาดขดลวดจากสุตร 10.15 เอามาใช้ได้เลยครับ

      ลบ
  11. คำตอบ
    1. เป็นเท่าไหร่ก็ได้ครับ อันที่จริงสูตรนี้ใช้หาอัตราทนแรงดันของเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ที่ใช้

      ดังนั้นถ้าเรากำหนดด้วยค่าด้านขวามือก่อน ก็เอามาคำนวณหา Vce(max) ที่จะเกิดขึ้น จากนั้นจึงค่อยไปเลือกเบอร์ของเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ให้เหมาะสม แต่ถ้าเราเลือกเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ก่อนเราก็เอาอัตราทนแรงดัน Vce(max) มาหา Np/Ns แทน เพื่อบังคับค่าแรงดันตีกลับไม่ให้เกิน Vce(max)

      ในที่นี้เลือกเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ก่อนครับ

      ลบ
  12. ขอนุญาติสอบถามหน่อยครับ ผมอยากทราบการกำหนด Vce ครับผมได้อ่านในหนังสือเขียนไว้ว่า Vce เป็นเเรงดันตกคร่อม Tr ที่สะท้อนกลับมาจากฝั่งเซคั่น่ารี่ผมอย่ารุ้ว่าเเรงดันจะสะท้อนกลับมาเท่าไหร่ครับ หรือเท่ากับ Vout ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. Vce เป็นแรงดันที่ตกคร่อม Tr ขณะหยุดทำงาน (อาจเขียนเต็มๆ ว่า Vce(OFF) จะเป็นไปตามสูตรนี้ครับ Vce(max) = Vin(max) + Np/Ns(Vo+Vd) +0.3Vin(max) ตรง Np/Ns(Vo+Vd) นี่แหละครับคือค่าแรงดันสะท้อนกลับ ถ้า Np/Ns ยิ่งมากแรงดันสะท้อนกลับจะยิ่งมาก จึงต้องระวังตรงนี้ด้วยในการเลือกค่า Vce ที่ Tr จะทนได้ครับ

      ลบ
  13. ขอนุญาติสอบถามเพิ่มเติมอีกหน่อยครับผมอยากทราบวิธิเลือกขาดของเเกนเฟอไรต์ครับผมดูในสูตรหน้า 84 ผมอยากทราบว่าค่า Ae ขนาดของพื้นที่หน้าตัดเเกนเฟอไรต์ผมจะทราบได้อย่างไรครับว่าต้องใช้ขนดเท่าไหร่

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การเลือกค่า Ae ประมาณเอาจากกราฟหน้า 81 โดยพิจารณากำลังงานของเอาต์พุตที่เราต้องการและความถี่การทำงานของสวิตชิ่ง แล้วเลือกขนาดแกนที่ใกล้เคียงความต้องการของเราออกมา ค่า Ae เป็นค่ามาตรฐานของแกนเบอร์นั้นๆ อยู่แล้วครับ ในทางปฏิบัติจะพอได้ค่า Ae คร่าวๆ มาสัก 2-3 ขนาดใกล้ๆ กัน แล้วก็มาคำนวนความเหมาะสมของแกนแต่ละแกน หลายๆ รอบหน่อยก็จะได้ขนาดแกนที่เราพอใจครับ

      ลบ
  14. ทำไมถ้าผมต้องดอทหม้อแปลงตามในรูปแล้วกระแสผมได้ติดลบครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ใส่ ground ให้วงจรส่วน output หรือเปล่าครับ ถ้าลอกตามวงจรในรูปกระแสไม่น่าติดลบ

      ลบ
    2. ผมดูแล้วก็เหมือนในตัวอย่างอะครับ คือถ้าผมวางตัว l แบบดอทของไพรมารี่อยู่ด้านล่างและฝั่งเซคั่นดารี่ อยู่ด้านบน กระแสที่ผมวัดได้จะเหมือนตัวอย่าง แต่ผมลองกลับดอท ให้ตรงกับในตัวอย่างกระแสที่ได้มันติดลบอะครับ(วัดกระแสฝั่งไพรมารี่และเซคั่นดารี่ วัดที่ตัว l เลยใช่ไหมครับ)

      ลบ
    3. เข้าใจคำถามแล้วครับกระแสของฝั่ง Sec ให้เอา probe วัดที่ D ครับควรจะได้เป็นค่าบวก แต่ที่กระแสผ่าน L มันติดลบนั้นน่าจะเป็นเพราะมันแสดงการไหลสวนทางดอท

      ลบ
  15. ความถี่การทำงาน เราต้องดูจากอะไรครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ความถึ่โดยหลักๆ แล้วเริ่มจากที่ขนาดหม้อแปลงและกำลังที่ต้องการครับ ถ้าต้องการให้หม้อแปลงเล็กลงแต่จ่ายกำลังงานสูงขึ้น ต้องเพิ่มความถี่การทำงาน ลองคำนวนดูก็จะเห็นภาพครับ

      ลบ
  16. ขอบคุณครับเดี่ยวผมจะลองดูครับ

    ตอบลบ
  17. ผมอ่านในหนังสือเรื่องวงจรสนับเบอร์ ค่า Li ผมสามารถหาได้จากสูตรอะไรและ ค่า Ip(pk)คือผมต้องดูจากกระแสของพาวเวอร์ทรานซิสเตอร์ ที่ได้จากการซิม ตอนยังไม่ได้ออกแบบวงจรสนับเบอร์ใช่ไหมครับ
    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. Li เป็นค่าที่แฝงมากับหม้อแปลง ขึ้นอยู่กับคุณภาพการพันและการออกแบบหม้อแปลง ปกติถ้าพันจากโรงงานเขาจะวัดค่าให้มาครับ แต่ถ้าพันเองอถ้าไม่มีเครื่องมือพอที่จะวัดก็คงต้องประมาณเอาครับประมาณเป็นค่าน้อยๆ ก่อนก็ได้ครับ เวลาดูจากรูปคลื่นที่ได้เวลาทำงานจริงเมื่อใส่สนับเบอร์ก็จะประมาณได้เองครับ ค่า Ip(pk) หาได้จากที่ถามมานั้นถูกแล้วครับ

      ลบ
  18. ในโหมดกระแสต่อเนื่องคำนวณอย่างไรหรอครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. แนวคิดในโหมดกระแสต่อเนื่องคือ คำนวณหาค่า Lp ที่มากพอที่จะทำให้การคายกระแสของ Lp ไม่สามารถลดจนเป็นศูนย์ได้ในช่วง toff แม้ในกรณีที่ ton(min) ที่เกิดขี้นมีค่าน้อยมากๆ ก็ตาม(ช่วงโหลดน้อยๆ)

      ดังนั้นการคำนวณแค่เปลี่ยนจากค่า ton(max) เป็น ton(min) และเปลี่ยนค่าคาบจากที่จำกัดไว้ 0.8T เป็น T ในข้อ 3 (คือไม่จำกัดด้วย dead time) แล้วจึงนำไปคำนวณหาค่า Lp ต่อในข้อ 4 ครับ

      ลบ
  19. ไม่ระบุชื่อ4 ธันวาคม 2562 เวลา 23:37

    ค่า RCD snubber หาอย่างไรครับ

    ตอบลบ
  20. อาจารย์ครับ สูตรหา Np สามารถใช้กับ หม้อแปลง โดนัทได้ไหมครับ

    ตอบลบ